“การสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ไทย รูปแบบระบำจากแหล่งประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก เมืองศรีพโล”
เมืองศรีพโลหรือแต่เดิมคือเมืองบางทราย ในอดีตคือเมืองท่าเล็ก ๆ ติดชายฝั่งทะเล มีประวัติทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยทวารวดีจนกระทั่งถึงสมัยอยุธยาตอนปลายก่อนที่จะเสื่อมหายไปด้วยอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ (ดินตะกอนชายฝั่งตื้นเขิน ไม่สะดวกต่อการค้าขาย) ในอดีตเมื่อเมืองท่าเล็ก ๆ เจริญเติบโตจนเป็นเมืองใหญ่ การก่อร่างสร้างเมืองเริ่มมีอารยธรรมทวารวดีแผ่ขยายเข้ามาจากภาคตะวันตก แนวคันดินสูงรูปทรงสี่เหลี่ยมของเมืองตามคติการสร้างเมืองแบบทวารวดี รวมทั้งพระพุทธศาสนาที่แผ่ขยายเข้ามาก่อนที่จะผ่านไปยังเมืองอื่นในภูมิภาคเดียวกันที่มีขนาดที่ใหญ่โตกว่า คือเมืองพญาเร่ เมืองพระรถและเมืองศรีมโหสถ เมื่ออิทธิพลของขอม ละโว้แผ่ขยายมาถึง ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าตามคติพราหมณ์ จึงได้เข้ามาสู่ดินแดนแห่งนี้ ดังประติมากรรมพระพนัสบดี พระวิษณุสี่กรและพระคเณศ เมื่อการค้าขายเจริญรุ่งเรืองอาณาจักรใหญ่ทางเหนืออาณาจักรสุโขทัยมีการติดต่อค้าขายกับชาวเรือต่างชาติคือจีนและญวณ ทำให้มีสินค้ามากมายอยู่ในเมืองศรีพโล จวบจนกระทั่งเมื่อถึงยุคสมัยอยุธยาเป็นยุคสุดท้ายที่เข้ามามีอิทธิพล ก่อนที่เมืองศรีพโล หมดความสำคัญของการเป็นเมืองท่าอีกต่อไป
ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
นพพล จำเริญทอง
นักแสดง
นางสาวนันทรัตน์ สะแกแสง
นางสาวกมลวรรณ ดารา
นางสาวชนิกานต์ สว่างวงษ์
นางสาวพรทิพย์ บัวทอง
นางสาวแวววิมล ถนอมแนบ
นางสาวอรัญญา บัวลาลักษณ์
นางสาวณัฐกุล บุญวงศ์
นางสาววริศรา พรหมณี
นักดนตรี
ระนาดเอก นายเสถียรพงษ์ วงศ์ไทย
ระนาดทุ้ม นายกฤษฎา ขาวผ่อง
ฆ้องวงใหญ่ นายสฤษฏ์พงศ์ ไชยแก้ว
ขลุ่ย นายสิทธิพล ชำนาญปืน
ซออู้ นายกฤตยชญ์ วงษ์สำราญ
ฉิ่ง นายเมธาธร ไชยผง
กลอง 1 นายสหภาพ แก่นหิรันต์
กลอง 2 นายธนกฤต สิริจุลพัฒน์
ผู้ควบคุมวงดนตรี อาจารย์กิตติภัณฑ์ ชิดเทพ